(1)“ปริมาณคำพูดที่ออกมาจากปากผู้หญิงจะแปรผันตรงกับระยะเวลาของความสัมพันธ์ (ใช้ได้ตลอดช่วงชีวิต)” ถอดความหมายของสมการนี้ให้เข้าใจง่ายๆได้ว่าในขณะที่ผู้ชายเริ่มไปจีบผู้หญิง ผู้หญิงจะพยายามพูดน้อยถึงน้อยที่สุดเพราะรู้ดีว่า
(2)“ปริมาณของคำพูดที่ทำให้ผู้ชายรู้สึกดีจะแปรผันตรงกับความหวังที่ผู้ชายคนนั้นๆใช้ในการเป็นแรงบันดาลใจในการจีบต่อไป” นั่นหมายความว่าถ้าพูดมากจนเกินไปแล้วไม่รู้ตัวว่าได้ไปให้ความหวังกับผู้ชายเหล่านั้นไว้ วันหนึ่งพอจะสลัดทิ้งผู้ชายเหล่านั้นก็จะเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะผู้ชายเหล่านั้นมีความหวังเรืองรองในการที่จะได้ครอบครองผู้หญิงคนนั้นๆแล้ว
และถ้ามองสมการที่(1) ในแง่ของความสัมพันธ์หลังจากตกลงที่จะดูแลกัน (คบกันเป็นแฟน) เมื่อระยะเวลาของความสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลให้ปริมาณคำพูดที่ออกมาจากปากผู้หญิงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งใดเคยเห็นและเก็บไว้ในใจได้ก็จะเริ่มยากลำบากมากขึ้นในการที่จะเก็บความรู้สึกเอาไว้และนั่นจะเป็นผลให้คำพูดจะออกมาจากปากมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่จะส่งผลให้เราสามารถเขียนสมการได้อีกอันหนึ่งว่า
(3)“ปริมาณความหงุดหงิดและอารมณ์เสียของผู้ชายแปรผันตรงกับปริมาณคำพูดที่เพิ่มมากขึ้นของผู้หญิงภายหลังจากที่ตกลงเป็นแฟนกันและปริมาณความหงุดหงิดจะเริ่มต้นเมื่อปริมาณคำพูดนั้นมากจนเลยจุดเกรงใจของผู้ชายคนนั้นๆ” (จุดเกรงใจขึ้นอยู่กับผู้ชายแต่ละคน) ทีนี้ถ้าเรามองในส่วนของผู้ชายสมการที่เราได้จะแตกต่างกับผู้หญิงโดยสมการจะว่าด้วย
(4) “ปริมาณคำพูดที่ออกมาจากปากผู้ชายจะแปรผกผันกับระยะเวลาของความสัมพันธ์ (ใช้ได้จนถึงช่วงวัยทองเท่านั้น)” อธิบายได้ว่า ถ้านับตั้งแต่แรกรู้จักกับผู้หญิงคนหนึ่งไปจนถึงใช้ชีวิตร่วมกันไปจนแก่เฒ่า ถ้าเราตัดช่วงวัยทองออกไปไม่นำมาคิดรวม เราจะสามารถเข้าใจได้ว่าผู้ชายจะพูดมากที่สุดในช่วงที่เริ่มจีบผู้หญิงคนหนึ่ง โดยคำพูดต่างๆที่ออกจากปากก็จะเป็นไปเพื่อแสดงออกถึงข้อดีของตัวเองและยังหวังผลว่าฝ่ายหญิงจะพูดโต้ตอบออกมาในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ หรือเขียนสมการเฉพาะในส่วนนี้ได้ว่า
(5)“ปริมาณคำพูดที่ออกมาจากปากผู้ชายในขณะจีบจะแปรตามความต้องการที่จะได้ครอบครองผู้หญิงคนนั้นๆ” และเมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายหญิงพูดโต้ตอบออกมามากขึ้นและหลงพูดคำใดๆที่เป็นการให้กำลังใจหรือทำให้รู้สึกดีก็จะสามารถนำไปตีความเข้ากับสมการที่ (2) ได้ทันที
และจากสมการที่ (4) และ (5) ยังอธิบายได้อีกว่า เมื่อผู้ชายได้ครอบครองผู้หญิงคนนั้นๆแล้ว ปริมาณคำพูดที่ออกจากปากจะน้อยลงไปเรื่อยๆตามช่วงเวลาของความสัมพันธ์จนกระทั่งอาจจะเหลืออยู่ไม่กี่คำต่อวันถ้าได้แต่งงานและใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน (ไม่มีความต้องการครอบครองเหลืออยู่เลยแม้แต่น้อย)
เมื่อเราจินตนาการได้แล้วว่าปริมาณคำพูดของผู้ชายจะน้อยลงเรื่อยๆเมื่อระยะเวลาของความสัมพันธ์มากขึ้น เราจึงจะมาว่ากันต่อถึงผู้ชายวัยทองกันบ้างโดยหลังวัยทองของผู้ชาย เราสามารถเขียนสมการได้ว่า (6)“ปริมาณของความฉุนเฉียวและอารมณ์เสียของผู้หญิงจะแปรผันตรงกับปริมาณคำพูดที่ออกมาจากปากผู้ชายวัยทอง”
อธิบายได้ง่ายโดยอ้างอิงจากสมการที่ (4) และ (5) ซึ่งผู้ชายจะพูดมากที่สุดในช่วงเวลาที่ต้องการจะได้ผู้หญิงคนนั้นมาครอบครองและเมื่อผู้หญิงตกลงที่จะมีความสัมพันธ์ร่วมกัน (ยอมให้ผู้ชายครอบครอง) ผู้ชายคนนั้นก็จะลดปริมาณคำพูดลงเรื่อยๆตามระยะเวลาของความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งผู้หญิงคนนั้นๆเริ่มชินและไร้ความรู้สึกกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เมื่อถึงวัยทอง ปริมาณคำพูดของชายคนดังกล่าวจะเพิ่มมากขึ้นในแบบก้าวกระโดด (ส่วนมากจะเป็นการดุด่าว่ากล่าว) นั่นทำให้ผู้หญิงจะเสียสมดุลในการฟังเนื่องจากไม่ได้รับฟังคำพูดใดๆจากผู้ชายมาเป็นเวลานานและจะแปลงค่าคำพูดดุด่าเหล่านั้นไปเป็นอารมณ์ฉุนเฉียวในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น